วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติของออร์เคสตรา



                                                                                  วงออร์เคสตรา  ( Orchestra )                                                                                                        
                                 วงออร์เคสตรา หรือวงดุริยางค์มีประวัติมาช้านานและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในต่ละยุคแต่ละสมัย  ดังนั้นการศึกษาลักษณะของวงออร์เคสตราจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เข้าใจลักษณะของดนตรีสมัยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี






าาาาาาาาาาาาาททททททททททททททท                        ท ประวัติของวงออร์เคสตรา                                                                                                                           
                                 ออร์เคสตรา  เป็นภาษาเยอรมัน  ตามความหมายรูปศัพท์  หมายถึง  สถานที่เต้นรำ  ( Dancing  Place )  ซึ่งหมายถึงส่วนหน้าเวทของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นที่เต้นรำ  และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง  ออร์เคสตราเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท  เช่น  วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย  เรียกว่า  วงกาเมสันออร์เคสตรา  ( The  gamelan  orchestra )  หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น  ( The  gagaku  orchestra )  เป็นต้น  สำหรับดนตรีตะวันตก  ออร์เคสตรา  มีความหมายถึง  วงซิมโฟนี  ออร์เคสตรา  ได้แก่  วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย  รวมทั้งเครื่องลมไม้  เครื่องลมทองเหลือง  และเครื่องตี
                                ความหมายของออร์เคสตรา เปลี่ยนไปในสมัยกลาง  โดยหมายถึงตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่  18  คำว่าออร์เคสตรา  หมายถึง  การแสดงของวงดนตรีซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน    อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง  คือ  พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร  และโรงแสดงคอนเสิร์ต
                               ในขณะที่การใช้เครื่องดนตรีเล่นทำนองเดียวกับการร้องในยุคเมดิอีวัล และริเนซองส์  แต่ไม่มีการระบุแน่นอนถึงเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงแต่ประการใด  ระยะต่อมาในศตวรรษที่  16  เมื่อมี อุปรากร ( opera )เกิดขึ้น  ความจำเป็นในการกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีก็เกิดขึ้น  เพราะต้องการให้เครื่องบรรเลงกลมกลืนกับเสียงร้องของนักร้อง  ใน โอเปราเรื่อง  ( Orfeo,  1607 ), มอนเทแวร์ดิ  ( Monteverdi )  เริ่มกำหนดจำนวนเครื่องลงในบทเพลง  การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น  ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสายออร์เคสตรา  ( String  Orchestra )  ซึ่งมีจำนวนผู้บรรเลงประมาณ  10 - 20  คน  โดยบางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง  ในศตวรรษที่ 17   วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้และตอนปลายของยุคบาโรค  ( ประมาณ  ค.ศ.  1750 )  ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนของเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด  นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง  และเครื่องประกอบจังหวะในวงออร์เคสตรา
                              ราวกลางศตวรรษที่ 18  การเปลี่ยนแปลงวงออร์เคสตรามีอย่างมากมาย  เครื่องสายทุกชนิดมีการจัดระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตราในปัจจุบัน  โดยมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนที่เครื่องดนตรีที่เคยใช้กัน  เช่น  การนำฟลูท  มาแทนขลุยริคอเดอร์  การเพิ่มคลาริเนท เข้ามาในกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้  เป็นต้น  กล่าวได้ว่า  วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนเป็นมาตรฐานในยุคนี้  คือ  ยุคคลาสสิก  ซึ่งเหตุผลประการหนึ่งคือ  บทเพลงซิมโฟนี  เป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้  จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐานเพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี  นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต  โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้น  กล่าวคือ  การมีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท  ได้แก่  เครื่องสาย  เครื่องลมไม้  เครื่องเป่า  และเครื่องตี  โดยในแต่ละเครื่องดนตรีมีเครื่องดนตรีพื้นฐานครบถ้วน  กล่าวคือ  ในกลุ่มเครื่องสาย ประกอบด้วย  ไวโอลิน  วิโอลา  วิโอลอนเชลโล และ ดับเบิลเบส  ในกลุ่มเครื่องลมไม้ประกอบไปด้วย  ฟลุท  คลาริเนท  โอโบ  บาซูน  ในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง  ประกอบด้วย  ฮอร์น  ทรัมเปท  ทรอมโบน  และทูบา  ในกลุ่มเครื่องตี มักจะมีกลองทิมพานี  กลองใหญ่  และเครื่องทำจังหวะอื่น ๆ   การจัดวงรายละเอียดจะมีแตกต่างกันไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง  เช่น  บางครั้งอาจจะมี  ฮาร์พ  ปิกโกโล  เพิ่มเข้าไปด้วย  เป็นต้น
                               ในตอนต้นของศตวรรษที่ 19  เบโธเฟน ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี  เช่น  เพิ่มฮอร์นเป็น 4  ตัว  และเติมเครื่องตีต่าง ๆ เช่น ฉาบ  สามเหลี่ยมเข้าไปในราวกลางศตวรรษที่ 19  ซึ่งเป็นยุคโรแมนติก  ได้มีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตราเป็นวงใหญ่ขึ้น  เช่น  เบร์ลิโอส  ( Berlioz )  เพิ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ  4  เครื่อง  ทั้งหมด  เช่น  ไวโอลิน  เพิ่มเป็น  28  เครื่อง  ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ  10 - 12  เครื่องเท่านั้น  นักประพันธ์แนวโรแมนติก  เช่น  บราห์มส์  ( Brahms )  เมนเดลซอน ( Mandelssohn )  และ ชูทานน์ ( Schumann )  ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ทั้งสิ้นเพื่อ





อ่านแล้วคอมเมนด้วยนะค่าาาา                      ขอบคุณที่อ่านค่าา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น